ตำนานแห่งนักขุด Bitcoin Mining
หลังจากทำความเข้าใจกันไปแล้วว่า Bitcoin มันคืออะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เรื่องต่อมาที่ต้องมาทำความเข้าใจคือ แล้ว Bitcoin นั้น มีกระบวนการทำงานอย่างไร แล้วเจ้า Bitcoin ที่ว่า แท้จริงแล้วมันผลิตออกมาจากไหน
หลายๆคนคงคุ้นเคยกับคำว่า การขุดบิทคอยน์ (Bitcoin Mining) หลายท่านอาจจะเข้าใจว่า คนสร้างคือซาโตชิ สร้างเหมืองเอาไว้ในโลกดิจิตอล แล้วให้นักขุดออกไปตามหากัน เหมือนดังกับการขุดเหมืองทองคำ แต่จริงๆแล้วมันไม่ใช่เลย
การขุดบิทคอยน์ (Bitcoin Mining) คืออะไร
อย่างที่อธิบายหลักการเบื้องต้นของ Blockchain ไปว่า จะมีการเก็บข้อมูลเป็นบล๊อกต่อกันเป็นลูกโซ่ สำหรับ Bitcoin Blockchain มันคือการเก็บรายการธุรกรรมที่เกิดขึ้นกับ Bitcoin นั่นเอง โดยเบื้องต้นให้คิดภาพตามแบบนี้ครับ
หลังจาก Block ที่ 1 ถูกสร้างขึ้น หลังจากนั้นทุกๆ 5-8 นาที จะมีการสร้าง Block เพิ่ม 1 หน่วยเสมอ
คนที่ทำหน้าที่ในการขุด Bitcoin เข้ามามีบทบาทตรงนี้ครับ คือ ทุกๆครั้งที่มีการสร้าง Block เพิ่ม 1 หน่วย พวกเขามีหน้าที่จะต้องตรวจสอบรายการธุรกรรมที่เกิดขึ้นใน Block นั้นๆ และทำการยืนยันกันในหมู่นักขุด Bitcoin ว่าทุกคนจะต้องเห็นข้อมูลเป็นข้อมูลชุดเดียวกัน ไม่มีความขัดแย้งกันเกิดขึ้น โดยนักขุดอย่างน้อย 51% จะต้องยืนยันว่าถูกต้อง
โดยที่ในระยะเวลา 5 นาทีดังกล่าว จะมีรหัสที่เกิดจากสูตรคณิตศาสตร์ที่แก้ไขได้ยากมากๆ ให้นักขุด Bitcoin ทำการแก้โจทย์ ใครแก้ได้ใน 5 นาที จะได้ค่าตอบแทน ซึ่งก็คือ Bitcoin ที่เราเห็นกันอยู่นั่นเอง
แต่เอาเข้าจริงๆ ไม่มีใครมานั่งสั่งคอมพิวเตอร์ให้แก้หรอกครับ เพราะแม้แต่คอมพิวเตอร์ที่แรงที่สุดในโลกก็ยังแก้โจทย์นี้ไม่ได้ ภายใน 5 นาที มันจึงเป็นการเดาคำตอบที่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงเป็นที่มาของเครื่องขุด Bitcoin มันเอาไว้สุ่มคำตอบ ยิ่งเครื่องมีมาก โอกาสสุ่มถูกย่อมมีมากกว่านั่นเอง
โดยปัจจุบัน ค่าตอบแทนจากการสุ่มคำตอบถูก อยู่ที่ 6.25 BTC ต่อ 1 บล๊อก
แต่สำหรับคนที่เดาคำตอบไม่ถูก จะได้ค่าตอบแทนเล็กน้อยเป็นเศษที่เรียกว่า Satoshi ของ BTC (0.00000001) มากน้อยอยู่ที่จำนวนชุดข้อมูลที่เกิดขึ้น หรือ Transaction Fee
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ Bitcoin ถูกขุดครบ 21,000,000 เหรียญ
ระบบจะดำเนินต่อไป โดยที่เหล่านักขุดจะได้รับผลตอบแทนจาก Transaction Fee เข้ามาทดแทน แต่อย่างไรก็ดี มันจะเกิดขึ้นในอีก 121 ปีข้างหน้า ซึ่งถึงวันนั้น อาจจะมีการพัฒนารูปแบบของ Bitcoin ไปไกลกว่านี้ จึงไม่น่าจะต้องกังวลใจในเรื่องนี้เท่าใดนัก
ความเสี่ยงที่เกิดจากหลักการของการขุด Bitcoin
ถึงแม้ว่า โดยทฤษฎี Bitcoin จะถูกออกแบบมาให้ ไม่มีคนกลางในการทำธุรกรรม แต่เอาเข้าจริง กำลังการขุดส่วนใหญ่จะเป็นของผู้เล่นรายใหญ่ไม่กี่ราย โดยแค่ 4 รายที่ใหญ่ที่สุด ก็มีกำลังในการขุดกว่า 50% ของทั้งโลก
และถ้ามีใครที่มีกำลังการขุดถึง 51% คนนั้นสามารถปิดห่วงโซ่ดังกล่าว ด้วยการส่งข้อมูลที่ผิดเข้าไปในระบบระหว่างการสร้างบล๊อกใหม่ ทำให้ห่วงโซ่หยุดทำงานได้ในทันที
เคยมีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับ Bitcoin เมื่อมีนักขุดรายหนึ่งสามารถครองกำลังการผลิตได้เกิน 51% อยู่พักหนึ่ง แต่เพื่อความสบายใจ นักขุดเจ้าดังกล่าวได้ตกลงที่จะลดกำลังการขุดของตนเองลง
อย่างไรเสีย โอกาส ณ ปัจจุบันที่จะมีนักขุดรายไหน ครองกำลังการขุดได้เกิน 51% เป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก เนื่องจากความนิยม ทำให้มีนักลงทุนหน้าใหม่เข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้เป็นจำนวนมาก
หลักการการทำเหมือง จึงเป็นต้นกำเนิดของ Blockchain อื่นๆที่เกิดขึ้นตามมา และมีโมเดลทางธุรกิจที่พัฒนาขึ้นมาจากการขุดเหมืองอีกหลายรูปแบบ คริปโตวิทยาจะนำมานำเสนอในโอกาสต่อไป
Leave a Comment
You must be logged in to post a comment.